วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Asanha Puja and Buddhist Lent


             

                           Asanha Puja and Buddhist Lent

The Asanha Puja Day is one of the sacred days in Buddhism as it marks the coming into existence of the Triple Gems, namely ; the Lord Buddha, His Teachings and His Disciples. The day falls on the fifteenth day of the waxing moon of the eighth lunar month (July). It is an anniversary of the day on which Lord Buddha delivered the First Sermon to his first five disciples at the Deer Park in Benares over two thousand five hundred years ago.
To observe this auspicious day, Buddhists all over the country perform merit-making and observe Silas (Precepts). Some go to the temples to offer food and offerings to the monks and also listen to a sermon to purify their minds. The Asanha Puja Day falls on the day preceding the Buddhist Lent which starts on the fist day of the waning moon of the eighth lunar month.
The tradition of Buddhist Lent or the annual three-month Rains Retreat known in Thai as “Phansa” dates back to the time of early Buddhism in ancient India, all holy men, mendicants and sages spent three months of the annual rainy season in permanent dwellings. They avoided unnecessary travel during the period when crops were still new for fear they might accidentally step on young plants. In deference to popular opinion, Lord Buddha decreed that his followers should also abide by this ancient tradition, and thus began to gather in groups of simple dwellings.
Buddhist Lent covers a good part of the rainy season and lasts three lunar months. In Thailand, Buddhist monks resolve to stay in a temple of the choice and will not take an abode in an other temple until the Lent is over.
The celebration of the beginning of Buddhist Lent is marked by the ceremony of presenting candles to the monks. Various institutions e.g. schools and universities, including public and private organisations will organise a colourful candle procession leading to a temple where the offering of the candles will be made.
Some Buddhist followers consider the beginning of Buddhist Lent as a time for making resolution such as refraining from smoking or observing five precepts (Panjasila) throughout the three-month Rains Retreat.


อาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา

 


วันอาสาฬหบูชาจัดเป็นวันที่สำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นในโลก คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกรกฎาคม) วันนี้ในครั้งพุทธกาลกว่า 2500 ปีมาแล้ว เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดง ปฐมเทศนา* โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี
เพื่อเป็นการระลึกนึกถึงวันอันเป็นมงคลนี้ ชาวพุทธทั่วทั้งประเทศจะทำบุญและรักษาศีล บางคนก็ไปวัดเพื่อถวายอาหารและจตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระสงฆ์ และฟังพระธรรมเทศนาเพื่อขัดเกลาจิตใจ โดยปกติวันอาสาฬหบูชาจะมีขึ้นก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน กล่าวคือ วันเข้าพรรษาจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
ประเพณีเข้าพรรษาสืบเนื่องมาแต่ต้นพุทธกาลในประเทศอินเดีย เมื่อบรรดาผู้ทรงศีล นักบวช และฤาษีต่างก็อยู่ประจำที่ในช่วงฤดูฝน เป็นเวลา 3 เดือน พวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยไม่จำเป็นในช่วงระยะเวลานี้ เพราะเพิ่งเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกโดยเกรงว่าจะไปเหยียบต้นกล้าโดยบังเอิญได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสมัยนิยม พระพุทธเจ้าจึงทรงออกพุทธบัญญัติให้พุทธสาวกปฏิบัติตามประเพณีปฏิบัตินี้ จึงเริ่มอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ โดยสร้างที่พักแบบง่าย ๆ ขึ้นก่อน
ฤดูกาลเข้าพรรษาจะยาวตลอดฤดูฝนเป็นเวลา 3 เดือน ในประเทศไทย พระสงฆ์จะอธิษฐานอยู่จำพรรษาเฉพาะในวัดที่ตนเลือกเท่านั้น และจะไม่ไปค้างคืนที่อื่นจนกว่าจะออกพรรษาแล้ว
พิธีฉลองเมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะเริ่มด้วยการแห่เทียนไปถวายพระที่วัด สถาบันต่าง ๆ เช่น โรงเรียนและมหาวิทยาลัย รวมทั้งหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนก็จะจัดขบวนแห่เทียนอย่างสวยงามไปยังวัดที่จะถวายเทียนจำพรรษานั้น
ชาวพุทธบางคนยังถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นเวลาแห่งการตั้งกฎบังคับตนเอง เช่น เลิกสูบบุหรี่ หรือสมาทานศีล 5 ตลอดพรรษาก็มี

The Poy Sang Long Festival



The Poy Sang Long Festival




The Poy Sang Long is a three-day celebration of Buddhist novice ordination which usually takes place in late March or early April of every year in the Thailand’s most north-western province of Mae Hong Sorn.
The festival is the custom and tradition of the Shans or Tai Yai an ethnic Thai tribe who migrated from northern Burma and then inhabited most of Mae Hong Sorn. The Tai Yais have a strong devotion to Buddhism, and to follow their age-old tradition the young boys between the age of 7 and 14 will be ordained as novices for a period to learn the Buddhist doctrinces and to gain merit for their parents. It is believed that the tradition is probably to follow in the footsteps of Prince Rahula, the first Buddhist novice who was the Buddha’s own son. The young prince gave up his worldly life to follow his father’s spiritual teachings.
The festival is rich in colour and display making it a most exciting event that draws residents of the entire province to take part. Prior to the arrival of the three-day festival, the boys have their heads shaved and are then bathed and anointed with special waters. They are dressed up in jewelled finery and their faces are expertly made up. These boys are known as the “Jewel Princes” or “Look Kaew” in Thai.
In the early morning of the first day, the celebration begins with a procession around the town. Accompanying the procession are flutes, lutes, fiddles, drums and cymbals. In the procession, each boy is accompanied by three attendants ; one to carry him, another to shelter him from the sun with a tall gold umbrella, and the third to guard the precious jewels. The Boys are led to visit relatives and friends and then join the communion lunch. After the feast, relatives and the elders tie white threads around the wrists of the boys to protect them from evil spirits. Thus ends the first day of the event.
On the second day, the same procession again takes place. This time, the procession includes offerings for the Buddha, other necessities for monks and a horse symbolising the vehicle of the spirit of the city pillar. In the evening, after having dinner, there is the rite of calling “spirit” or “Kwan” in Thai and a verbal recitation to prepare the boys for the actual ordination in the following day.
The last day begins with the procession of the boys to the temple for ordination. At the temple, the boys ask permission to be ordained from the senior monks. Once accepted, the boys then take vows, change the princely attires to yellow robes and become full novices. The greatest event then ends here.
The Poy Sang Long Festival attracts a large number of Thai tourists and has now become popular among foreign tourists as well.



ประเพณีปอยส่างลอง


ปอยส่างลองคือพิธีฉลองเป็นเวลา 3 วันของการบรรพชาสามเณรในศาสนาพุทธ ซึ่งโดยปกติก็จะจัดให้มีขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือไม่ก็ต้นเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศไทย
พิธีนี้เป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาวฉานหรือไทใหญ่ (ชนกลุ่มน้อยชาวไทย ผู้ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือของพม่าและตั้งถิ่นฐานอยู่ในแม่ฮ่องสอนเสียเป็นส่วนใหญ่) ชาวไทใหญ่มีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธมาก และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีอันเก่าแก่ของพวกเขา เด็กหนุ่มอายุระหว่าง 7 ถึง 14 ปี จะบรรพชาเป็นสามเณรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาพุทธธรรมและเพื่อให้บิดามารดาได้บุญกุศลอีกด้วย แต่เป็นที่เชื่อกันว่าบางทีประเพณีนี้ก็จัดให้มีขึ้นเพื่อตามรอยเท้าเจ้าชายราหุล ผู้ซึ่งเป็นสามเณรองค์แรกในพุทธศาสนา และเป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระพุทธเจ้า) เจ้าชายราหุลทรงสละโลกีย์วิสัย เพื่อดำเนินรอยตามคำสั่งสอนของพระบิดา
ประเพณีนี้หลากหลายไปด้วยสีสันและการแสดงมากมาย ทำให้เป็นเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ที่ดึงดูดให้ประชาชนทั่วทั้งจังหวัดมาเข้าร่วมพิธี แต่ก่อนที่จะถึงวันประเพณี เด็กชายจะต้องปลงผมและอาบน้ำ แล้วจึงเจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยเครื่องประดับเพชรพลอยเต็มยศ แต่งหน้าแต่งตาสวยงาน ซึ่งเราเรียกว่า “ลูกแก้ว”
แต่เช้าตรู่ในวันแรกของประเพณีนี้ การเฉลิมฉลองจะเริ่มด้วยขบวนแห่ไปรอบ ๆ เมือง ซึ่งในขบวนแห่นี้ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย พิณ ซอ กลอง และฉิ่งฉาบ ในขบวนแห่ลูกแก้ว แต่ละคนจะมีผู้ติดตาม 3 คน กล่าวคือ คนหนึ่งแบกลูกแก้ว อีกคนหนึ่งกางร่มที่มียอดสูงประดับทองกันแดดให้ และคนที่สามคอยปกป้องเพชรพลอยของมีค่าต่าง ๆ ลูกแก้วเหล่านี้จะถูกนำไปเยี่ยมญาติ ๆ และเพื่อน ๆ และแล้วก็ร่วมรับประทานอาหารรวมกัน หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ญาติ ๆ และผู้สูงอายุก็จะใช้ด้ายสีขาวผูกข้อมือให้ลูกแก้ว เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายต่าง ๆ และแล้วพิธีวันแรกก็เป็นอันจบลง
ในวันที่สองขบวนแห่เดียวกันนี้ก็จะเริ่มทำกันอีก แต่คราวนี้ในขบวนแห่จะประกอบด้วยเครื่องสักการะ เพื่อถวายพระพุทธ เครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ และมีม้าอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพาหนะของเจ้าพ่อหลักเมือง ในตอนเย็น หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ก็จะมีพิธีทำขวัญและการสวดคำขวัญ เพื่อเตรียมตัวให้ลูกแก้ว ผู้ซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น
วันสุดท้ายจะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัด ลูกแก้วก็จะกล่าวคำขออนุญาตเพื่อบรรพชาจากพระเถระ เมื่อท่านอนุญาต ลูกแก้วก็จะกล่าวคำปฏิญาณตน แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง และเป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์
ประเพณีปอยส่างลอง ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันนี้ก็เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอีกด้วย

Yee Peng Festival


Yee Peng Festival

 

Yee Peng is the annual festival held to celebrate the full moon in the northern capital of Chiang Mai on the day preceding Loy Krathong by one day in November. The word “Yee Peng” is the northern Thai term referring to the full moon of the 12th lunar month in the Buddhist calendar.
The festival is celebrated as a religious event in which local people throughout the region make merit and other religious activities. The highlight of the event focuses on the launching of the Khom loy or floating lanterns into the night sky with the belief that misfortune will fly away with the lanterns. It is their belief, if the lanterns are made and offered to monks, they will receive wisdom in return as the flame in the lantern is said to symbolise knowledge and the light it gives will guide them to the right path of their lives.
Meanwhile, “Khom loy” is a Thai word signifying the floating lantern which is a large balloon – like made from a light bamboo frame covered with saa (mulberry) paper. It floats by means of hot air heated by a flaming torch fixed in the balloon. During the event, both day and night local people and monks are closely involved with the Khom making process. Besides, the premise of large hotels, the temple compound is thus the appropriate venue for the launching of the Khom. The activity has gained such popularity that at the height of the event the flight training of the Royal Thai Air Force has to be suspended until all the Khom loy have dispersed while all commercial air traffic at the airport has been warned to exercise extreme caution as the climbing lanterns could pose a danger to the jet turbines.
To celebrate the auspicious event, companies and private individuals make merit by sponsoring ballons to dispel bad luck and seek good fortune. If their balloons rise high and travel far, this indicates prosperity. It has been said that this kind of hot air balloon could rise to heights of up to 1,250 metres and travel even as far as Hat Yai District of the southern province of Songkhla.
The most spectacular event is held at the Thapae Gate area where local and foreign visitors can see floats, marchers and beautiful Yee Peng queens. As the night falls, the spectators will be excited to see the long strings of Khom loy rise gently into the limitless sky as they stimulate the participants’ spirits to rise higher to the heaven. This brings joy and happiness to the merit-makers since their ill – fortune has been floated away.


ประเพณียี่เป็ง


ยี่เป็งเป็นงานประเพณีประจำปี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองคืนเดือนเพ็ญที่จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือของไทย โดยงานจะเริ่มขึ้นในวันก่อนวันลอยกระทงหนึ่งวันในเดือนพฤศจิกายน คำว่า “ยี่เป็ง” เป็นคำทางเหนือซึ่งหมายถึง วันเพ็ญเดือน 12 ตามปฏิทินพุทธศาสนา
ประเพณีนี้จัดฉลองเป็นพิธีทางศาสนา ซึ่งประชาชนในถิ่นนี้ทั้งหมดจะร่วมทำบุญและกิจกรรมทางศาสนาอื่น ๆ ด้วย จุดเด่นของงานนี้ก็อยู่ที่การปล่อยโคมลอยขึ้นไปในท้องฟ้าในยามค่ำคืนตามความเชื่อที่ว่า โคมเหล่านี้จะนำโชคร้ายต่าง ๆ ออกไป ประชาชนเชื่อว่าถ้าหากได้ทำโคมแล้วนำไปถวายพระพวกเขาก็จะได้รับความฉลาดเป็นสิ่งตอบแทน เพราะกล่าวกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญญลักษณ์ของความรู้และแสงสว่างที่ได้รับจากโคมจะนำพวกเขาไปในทางที่ถูกต้องของการดำเนินชีวิต
ในขณะเดียวกัน คำว่า “โคมลอย” นี้เป็นภาษาไทย ซึ่งหมายถึงโคมไฟที่ลอยได้ โดยมีรูปคล้ายบัลลูนขนาดใหญ่ทำด้วยโครงไม้ไผ่เบา ๆ แล้วคลุมด้วยกระดาษสา บัลลูนนี้ลอยได้โดยอาศัยอากาศร้อนโดยการจุดคบเพลิงผูกติดไว้ในบัลลูน ในช่วงมีพิธีนี้ทั้งวันทั้งคืน ชาวบ้านและพระสงฆ์จะช่วยกันทำโคมอย่างขะมักเขม้น นอกจากบริเวณโรงแรมใหญ่ ๆ แล้ว บริเวณวัดก็จัดเป็นสถานีที่เหมาะสำหรับการปล่อยโคมอีกด้วย กิจกรรมนี้ได้รับความนิยมมากเสียจนกระทั่งว่าในช่วงสำคัญของงานการฝึกบินของกองทัพอากาศไทยต้องหยุดระงับไว้ชั่วคราวจนกว่าโคมเหล่านี้จะลอยไปหมดแล้ว ในขณะที่การบินพาณิชย์ที่สนามบินก็ได้รับคำเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังอย่างมากที่สุดเพราะโคมที่กำลังลอยขึ้นนี้อาจเป็นอันตรายต่อใบพัดของเครื่องยนต์ไอพ่นได้
เพื่อร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ บริษัทและแต่ละคนต่างก็ทำบุญโดยการออกค่าใช้จ่ายในการทำบัลลูนเพื่อขับไล่โชคร้ายออกไปและให้โชคดีเข้ามาแทนที่ ถ้าหากบัลลูนของพวกเขาขึ้นไปได้สูงและลอยไปได้ไกลมาก นี่ก็แสดงว่าเขาจะประสบความเจริญรุ่งเรือง กล่าวกันว่า บัลลูนที่ใช้ความร้อนชนิดนี้สามารถลอยขึ้นได้สูงถึง 1,250 เมตร และลอยไปไกลได้ถึงแม้กระทั่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาของภาคใต้
เหตุการณ์ที่น่าชมมากที่สุดจัดขึ้นที่บริเวณประตูท่าแพ ซึ่งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสามารถชมพุ่มต่าง ๆ การเดินขบวนและนางงามยี่เป็งได้ด้วยทันทีที่พลบค่ำคนชมจะได้ตื่นเต้นกับการได้เห็นโคมลอยที่ดูติดกันเป็นสายยาวค่อย ๆ ลอยขึ้นไปสู่ท้องฟ้าอันเวิ้งว้างเหมือนหนึ่งจะกระตุ้นจิตใจของผู้ที่ร่วมงานให้ลอยสูงขึ้นไปบนสวรรค์ไม่มีผิด นี่เป็นการนำมาซึ่งความรื่นเริงและความสุขแก่ผู้ที่ได้ทำบุญเพราะว่าโชคร้ายต่าง ๆของพวกเขาได้ถูกลอยไปพร้อม ๆ กับโคมหมดแล้ว

Songkran Festival


Songkran Festival

 

“Songkran” is the Thai traditional New Year and an occasion for family reunion. At this time, people from the rural areas who are working in the city usually return home to celebrate the festival. Thus, when the time comes, Bangkok temporarily turns into a deserted city.
The festival falls on April 13 and the annual celebration is held throughout the kingdom. In fact, “Songkran” is a Thai word which means “move” or “change place” as it is the day when the sun changes its position in the zodiac. It is also known as the “Water Festival” as people believe that water will wash away bad luck.
This Thai traditional New Year begins with early morning merit-making offering food to Buddhist monks and releasing caged birds to fly freely into the sky. During this auspicious occasion, any animals kept will be set free. Paying homage to one’s ancestors is an important part of the day. People will pay their respects to the elders by pouring scented water over the palms of their hands. The elders in return wish the youngsters good luck and prosperity.
In the afternoon, after performing a bathing rite for Buddha images and the monks, the celebrants both young and old, joyfully splash water on each other. The most-talked about celebration takes place in the northern province of Chiang Mai where Songkran is celebrated from April 13 to 15. During this period, people from all parts of the country flock there to enjoy the water festival, to watch the Miss Songkran Contest and the beautiful parades.
In Bangkok, the Buddha image “Buddhasihing” is brought out from the National Museum for people to sprinkle lustral water at Sanam Luang opposite the Grand Palace.


เทศกาลสงกรานต์


“สงกรานต์” คือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีไทยและเป็นโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวจะได้พบกันพร้อมหน้าพร้อมตา ในช่วงเวลานี้ประชาชนผู้ซึ่งเป็นคนต่างจังหวัดที่มาทำงานในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ก็จะเดินทางไปฉลองเทศกาลนี้ที่บ้านเกิดของตน ดังนั้นเมื่อเทศกาลนี้มาถึงกรุงเทพมหานครก็จะกลายเป็นเมืองร้างไปชั่วคราว
เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13 เมษายนและการฉลองประจำปีก็จะจัดให้มีขึ้นทั่วทั้งราชอาณาจักร ที่จริงแล้วคำว่า “สงกรานต์” นี้เป็นภาษาไทยซึ่งหมายถึง “เคลื่อนย้าย” หรือ “เปลี่ยนที่” เพราะว่าเป็นวันที่พระอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งในทางจักรราศี นอกจากนี้ยังเรียกว่า “เทศกาลน้ำ” อีกด้วย เพราะว่าประชาชนเชื่อว่าน้ำจะพัดพาเอาสิ่งที่เป็นอัปมงคลออกไป
วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของไทยนี้เริ่มต้นแต่เช้าตรู่ด้วยการทำบุญตักบาตรแก่พระสงฆ์และปล่อยนกที่ขังไว้ให้เป็นอิสระ ในช่วงวาระโอกาสอันเป็นมงคลนี้ สัตว์ต่างๆ ที่ถูกขังไว้ก็จะได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ พร้อมกันนี้การไหว้บรรพบุรุษก็เป็นส่วนสำคัญของวันนี้ด้วย ประชาชนจะแสดงความเคารพต่อผู้สูงอายุ และในทางกลับกันผู้สูงอายุก็จะอวยพรให้ผู้น้อยประสบโชคดีและเจริญรุ่งเรือง



ในตอนบ่าย หลังจากพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์แล้ว ผู้ร่วมฉลองทั้งหนุ่มและแก่ต่างสาดน้ำใส่กันอย่างสนุกสนาน การฉลองที่มีคนกล่าวขานกันมากที่สุดเห็นจะเป็นที่จังหวัดทางภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ ซึ่งการฉลองที่นี่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ช่วงเวลานี้ประชาชนจากทั่วทุกภาคของประเทศจะแห่กันไปที่นั่นเพื่อร่วมสนุกสนานในเทศกาลน้ำนี้ เพื่อชมการประกวดนางงามสงกรานต์และขบวนพาเหรดที่สวยงาม
ในกรุงเทพมหานคร พระพุทธรูป “พระพุทธสิหิงค์” จะถูกอัญเชิญจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาประดิษฐานไว้ที่ท้องสนามหลวง (ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง) เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำด้วย

Tak Bat Devo and Chak Phra Festivals


Tak Bat Devo and Chak Phra Festivals

 

There is a Buddhist myth that during one Rains Retreat or “Khao Phansa” Lord Buddha went to heaven to deliver a sermon to his mother who died after giving birth to Lord Buddha (then Prince Siddharatha) and was born again in heaven. The sermon given was said to last for the entire period of the Rains Retreat (3 months).
Upon completing his mission in heaven, Lord Buddha then returned to earth and was greeted by a crowd of his disciples and followers. To commemorate this event, two public festivals are held, namely; the “Tak Bat Devo” in the central region and the “Chak Phra” in the south. Both portray the event of Lord Buddha’s return to earth and annually take place immediately after the end of the 3-month Rains Retreat. However, the celebration of these two festivals may be different in its preparation and practices. In other words, Tak Bat Devo means “offering of food to Buddhist monks”. The celebration is an imitation of Lord Buddha’s descent from heaven. Thus, a high place such as the hill is preferably used as a starting point, the Golden Mount of Wat Sraket in Bangkok is a good example of this. But for the temple built far away from the hill, the consecrated assembly hall (or Uposatha) can also be used as a starting point.
When all is ready, the row of Buddhist monks, headed by the image of a standing Buddha carried by men representing God Indra and God Brahma, will move slowly along the path arranged in advance. People then offer a variety of food and fruit to the passing monks. The rite ends when the last monk in the row finishes the entire route.
Meanwhile, Chak Phra literally means “pulling of the Buddhist monks” and it is celebrated in many southern provinces such as Nakhon Si Thammarat, Pattani, Phatthalung, Songkhla and Yala. The most impressive Chak Phra festival is on the Tapi River in Surat Thani Province. To mark this occasion, two float-pulling ceremonies are held, one on land and the other on water. On land, the splendidly adorned floats are pulled across the town by the participants of the ceremony. At the same time, on water, the ceremony is highlighted by a float decorated in colourful Thai design of a float made to carry the Buddha image. This float is then towed to the middle of the river for a religious ceremony. On the following day, the float carrying the Buddha image is towed along the river so that people can worship and make merit. Both land and river events are highly colourful. The Chak Phra festival then concludes with an exciting boat race and a traditional game.






เทศกาลตักบาตรเทโวและประเพณีชักพระ

 

ตามตำนานทางศาสนาพุทธกล่าวว่าในช่วงฤดูเข้าพรรษาฤดูกาลหนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา ผู้ซึ่งหลังจากที่คลอดเจ้าชายสิทธัตถะแล้วก็สิ้นพระชนม์ลงและได้เกิดเป็นเทพยาอยู่บนสวรรค์ในเวลาต่อมา กล่าวกันว่าพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระมารดานี้มีความยาวตลอดทั้งพรรษา (3 เดือน) จึงจบลง
หลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจบนสวรรค์แล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ พระองค์ได้รับการต้อนรับจากฝูงชนทั้งที่เป็นพระสาวกและผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก และเพื่อเป็นการระลึกถึงวันนี้ในครั้งพุทธกาล จึงได้มีการจัดงานเทศกาลขึ้น 2 งานด้วยกันกล่าวคือ “ตักบาตรเทโว” ซึ่งจัดขึ้นในภาคกลางและ “ประเพณีชักพระ” จัดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศ ทั้ง 2 งานนี้ต่างก็จัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นการเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทุกๆ ปีก็จะจัดให้มีขึ้นทันทีหลังจากออกพรรษาแล้ว อย่างไรก็ตามการเฉลิมฉลองของงานเทศกาลทั้ง 2 นี้ อาจจะแตกต่างกันบ้างทางด้านการตระเตรียมงานและถือปฏิบัติกล่าวคือ การตักบาตรเทโวซึ่งหมายถึง “การถวายอาหารแก่พระสงฆ์” งานฉลองจึงเป็นการจำลองเหตุการณ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ดังนั้นจุดเริ่มต้นของขบวนแห่จึงมักนิยมใช้ที่สูงๆ เช่นเนินเขา สำหรับในกรุงเทพมหานครนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ แต่สำหรับวัดที่ตั้งอยู่ห่างจากเนินเขาก็จะใช้พระอุโบสถเป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่
เมื่อทุกคนเตรียมพร้อมแล้ว พระสงฆ์จะยืนเรียงแถวในขบวนซึ่งจะนำโดยพระพุทธรูปในท่ายืนอัญเชิญโดยชายผู้ซึ่งได้รับการสมมุติให้เป็นพระอินทร์และพระพรหม แล้วจึงค่อยๆ เคลื่อนขบวนแห่ไปตามทางที่เตรียมไว้ ประชาชนก็จะถวายอาหารและผลไม้ต่างๆ แก่พระสงฆ์ที่จะเดินผ่านมาข้างหน้าตน พิธีจะจบลงเมื่อพระสงฆ์รูปสุดท้ายในขบวนเดินครบรอบ
ในขณะเดียวกัน คำว่า “ชักพระ” ถ้าแปลตามตัวก็คือ “การดึงพระ” นั่นเอง และส่วนใหญ่ก็จะจัดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ที่นครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง สงขลา และยะลา ประเพณีชักพระที่น่าตื่นตามากที่สุดก็เห็นจะเป็นที่แม่น้ำตาปี ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเป็นการฉลองโอกาสนี้ก็จะมีพิธีจัดขบวนแห่ขึ้น 2 ขบวนพร้อม ๆ กันกล่าวคือ สำหรับแห่ทางบกและทางน้ำ สำหรับขบวนแห่ทางบกนั้นก็จะมีการประดับประดารถขบวนอย่างสวยงามแล้วก็จะถูกลากไปรอบ ๆ เมือง โดยผู้ที่มาเข้าร่วมในขบวนแห่นั้น ในขณะเดียวกันประเพณีทางน้ำนั้นก็มีจุดเด่นอยู่ที่การประดับตกแต่งทุ่นหรือแพปะรำพิธีด้วยลวดลายไทยสีต่าง ๆ เพื่อใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป ทุ่นนี้ก็จะถูกลากจูงไปยังกลางแม่น้ำเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา พอถึงวันรุ่งขึ้นทุ่นที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปนี้ก็จะถูกลากจูงไปตามลำน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาและทำบุญ ขบวนแห่ทั้งทางน้ำและทางบกต่างก็เป็นเหตุการณ์ที่สวยงามมาก ประเพณีชักพระนี้ก็จะจบลงด้วยการแข่งเรืออันน่าตื่นตาตื่นใจพร้อมกับการละเล่นทางประเพณีต่าง ๆ

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

The Phi Ta Khon


The Phi Ta Khon (Ghost Festival)
Phi Ta Khon is a type of masked procession celebrated on the first day of a three-day Buddhist merit-making holiday known in Thai as “Boon Pra Wate”. The annual festival takes place in *May, June or July at a small town of Dan Sai in the northeastern province of Loei.

Participants of the festival dress up like ghosts and monsters wearing huge masks made from carved coconut-tree trunks, topped with a wicker-work sticky-rice steamer. The procession is marked by a lot of music and dancing.

The precise origin of the Phi Ta khon is unclear. However, it can be traced back to a traditional Buddhist folklore. In the Buddha’s next to last life, he was the beloved Prince Vessandorn. The prince was said to go on a long trip for such a long time that his subjects forgot him and even thought that he was already dead. When he suddenly returned, his people were over-joyed. They welcomed him back with a celebration so loud that it even awoke the dead who then joined in all the fun.

From that time onward the faithful came to commemorate the event with ceremonies, celebrations and the donning of ghostly spirit masks. The reasons behind all the events is probably due to the fact that it was held to evoke the annual rains from the heavens by farmers and to bless crops.

On the second day, the villagers dance their way to the temple and fire off the usual bamboo rockets to signal the end of the procession. The festival organisers also hold contests for the best masks, costumes and dancers, and brass plaques are awarded to the winners in each age group. The most popular is the dancing contest.

Then comes the last day of the event, the villagers then gather at the local temple, Wat Ponchai, to listen to the message of the thirteen sermons of the Lord Buddha recited by the local monks.

Then it is time for the revellers to put away their ghostly masks and costumes for another year. From now on, they must again return to the paddy fields to eke out their living through rice farming as their forefathers did.



ผีตาโขน
ผีตาโขนคือขบวนแห่ใส่หน้ากาก ซึ่งพิธีฉลองจัดขึ้นในวันแรกของพิธีทำบุญ 3 วัน เรียกว่า “บุญพระเวส” ในภาษาไทย เทศกาลประจำปีนี้จะมีขึ้นในเดือน *พฤษภาคม มิถุนายน หรือ กรกฎาคม ที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง ชื่อด่านซ้าย ในจังหวัดเลยของภาคอีสาน

ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากต้นมะพร้าวแกะสลักและสวมศรีษะด้วยกระติ๊บข้าวเหนียว ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน

ต้นกำเนิดของพิธีผีตาโขนไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่ก็พอที่จะท้าวความไปยังตำนานทางพุทธศาสนาได้ว่า ในชาติก่อนหน้าที่จะถือกำเนิดมาเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือกำเนิดเป็นเจ้าชาย ผู้เป็นที่รักยิ่งของทวยราษฎร์ ทรงพระนามว่า พระเวสสันดร กล่าวกันว่าพระองค์ทรงเสด็จออกนอกพระนครไปเป็นเวลานานเสียจนเหล่าพสกนิกรของพระองค์ลืมพระองค์ไปแล้ว และยังคิดว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ไปเสียแล้วด้วยซ้ำไป แต่จู่ ๆ พระองค์ก็เสด็จกลับมา พสกนิกรของพระองค์ต่างปลื้ม ปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงพร้อมใจกันเฉลิมฉลองการเสด็จกลับมาอย่างเอิกเกริกส่งเสียงดังกึกก้อง จนกระทั่งปลุกผู้ที่ตายไปแล้วให้มาเข้าร่วมสนุกสนานรื่นเริงไปด้วย

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่างพากันมาร่วมระลึกนึกถึงเหตุการณ์นี้ด้วยการจัดพิธีต่าง ๆ การเฉลิมฉลองและการแต่งกายใส่หน้ากากคล้ายภูตผีปีศาจ แต่เหตุผลที่แท้จริง เบื้องหลังพิธีนี้ก็อาจจะเนื่องมาจากความจริงที่ว่าชาวนาต้องการกระตุ้นฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล และเพื่อเป็นการให้ศีลให้พรแก่พืชผลอีกด้วย

ในวันที่ 2 ของงานบุญนี้ ชาวบ้านจะร้องรำทำเพลงไปตามทางสู่วัด แล้วจึงจุดบั้งไฟเพื่อส่งสัญญาณให้รู้ว่า ขบวนแห่ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว นอกจากนี้ผู้ที่จัดงาน ก็ยังจัดให้มีการประกวดหน้ากากที่สวยงามที่สุด การแต่งกายและผู้ที่รำสวย แล้วยังมีการแจกโล่ห์ทองเหลืองแก่ผู้ชนะในแต่ละวัยอีกด้วย แต่สิ่งที่ชื่นชอบกันมากที่สุด ก็เห็นจะเป็นการแข่งขันเต้นรำ

และเมื่อวันสุดท้ายของงานบุญมาถึง ชาวบ้านก็จะไปรวมกันที่วัดโพนชัย เพื่อฟังพระธรรมเทศนา 13 กัณฑ์ แสดงโดยพระภิกษุวัดนั้น

และแล้ววันเวลาแห่งการถอดหน้ากากปีศาจและเครื่องแต่งกาย เพื่อสวมใส่ในปีต่อไปก็มาถึง นับจากนี้ไปพวกเขาต้องกลับไปสู่ท้องนาอีกครั้ง โดยการทำนาเพื่อหาเลี้ยงชีพ ตามอย่างบรรพบุรุษของตนที่สืบทอดกันมา

Illuminated Boat Procession




Illuminated Boat Procession
The festival of the Illuminated Boat Procession or “Lai Reua Fai” in Thai and “Lai Heua Fai” in local dialect is an ancient tradition of northeastern people. In the past, the festival was held in several provinces in this region, later only some provinces still preserve this tradition especially Nakhon Phanom Province where the annual event draws visitors from different directions.

Originally, the boats were made of banana logs or bamboo but modern versions can be made of wood or synthetic materials. A boat’s length was about 8 to 10 meters. Inside the boat, there were sweets, steamed-sticky rice wrapped in banana leaves (Khao Tom Mud) and other offerings while the outside of the boat was decorated with flowers, joss-sticks, candles and lamps. At night the fire boats were launched on the Mekong River and illuminated in a spectacular display.

The festival of the Illuminated Boat Procession takes place at the end of the Buddhist Rains Retreat or Ork Phansa (usually some time during October). On this occasion, residents of several villages will jointly observe Ork Phansa by launching intricatedly decorated little boats on the Mekong River when the night falls. Boat racing and a wax castle procession are also included in the festival. The event was said to have carried down from several generations as a means to worship Lord Buddha who, according to Buddhist legend, returned to earth after completing his – month mission in heaven.

Meanwhile, the ceremony of launching fire boats will usually be performed in the evening before the sunset. Buddhist monks will be invited to chant, give precepts and deliver a sermon. However, the participants must bring joss-sticks and candles to take part in a religious rite. As soon as the sun’s rays disappear, the boats will be lit and launched on the Mekong River to worship Lord Buddha.

At this time, in the middle of the Mekong River, lights in various shapes from the floating boats can be seen from a long distance and this is considered as a significant symbol to uphold Buddhism. The event brings about happiness to all Buddhists while foreign visitors will enjoy watching a marvelous illuminated display.





งานประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟหรือที่เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “ไหลเฮือไฟ” นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอีสาน ในอดีตประเพณีนี้จัดให้มีขึ้นในหลายจังหวัดในภาคนี้แต่ต่อมามีเพียงบางจังหวัดเท่านั้นที่ยังคงยึดถือประเพณีไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนครพนมซึ่งงานประเพณีประจำปีนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ

เดิมทีเดียว เรือเหล่านี้ทำด้วยต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ แต่ในยุคนี้อาจจะทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์ก็ได้ ความยาวของลำเรือประมาณ 8 ถึง 10 เมตร ภายในเรือมีขนม ข้าวต้มมัดและเครื่องไทยทานต่างๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนด้านนอกของเรือก็มีดอกไม้ ธูปเทียน และตะเกียง พอถึงเวลากลางคืนก็ปล่อยเรือไฟลงในแม่น้ำโขง ดูสว่างไสวไปด้วยการแสดงอันตระการตา

ประเพณีไหลเรือไฟจัดให้มีขึ้นในช่วงสิ้นสุดฤดูกาลเข้าพรรษา (ช่วงออกพรรษาโดยปกติราวๆ ระหว่างเดือนตุลาคม) ในโอกาสนี้ชาวบ้านหลายหมู่บ้านจะร่วมกันจัดงานออกพรรษาโดยการทำเรือขนาดเล็กประดับประดาอย่างประณีตเพื่อปล่อยลงในแม่น้ำโขงในเวลากลางคืน การแข่งขันเรือและขบวนแห่ปราสาทผึ้งก็จัดให้มีขึ้นในช่วงงานประเพณีนี้ด้วย กล่าวกันว่างานประเพณีนี้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งตามตำนานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่าพระองค์เสด็จลงมาสู่โลกหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจที่ทรงปฏิบัติอยู่บนสวรรค์เป็นเวลา 3 เดือน

ในขณะเดียวกัน พิธีไหลเรือไฟนี้โดยปกติจะจัดขึ้นในช่วงเย็นก่อนพระอาทิตย์ตกดิน มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ให้ศีลและแสดงพระธรรมเทศนา อย่างไรก็ตามผู้ที่มาเข้าร่วมในพิธีต้องนำธูปเทียนมาเข้าร่วมทำพิธีทางศาสนาเอง ทันทีที่แสงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า เรือไฟก็จะถูกจุดขึ้นแล้วปล่อยลงในแม่น้ำโขงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า

ณ เวลานี้ กลางลำน้ำโขงแสงไฟเป็นรูปต่างๆ จากเรือที่ลอยลำอยู่สามารถมองเห็นได้แต่ไกล และนี่ก็ถือกันว่าเป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญแห่งการเทิดทูนพระพุทธศาสนา ประเพณีนี้นำมาซึ่งความสุขต่อชาวพุทธทั้งมวลในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็เพลิดเพลินกับการได้ชมการแสดงอันสว่างไสวดูน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

Loy Krathong Festival


Loy Krathong Festival
One of the most popular festivals in early November is the Loy Krathong Festival. It takes place at a time when the weather is fine as the rainy season is over and there is a high water level all over the country.

“Loy” means “to float” and a “Krathong” is a lotus-shaped vessel made of banana leaves. The Krathong usually contains a candle, three joss-sticks, some flowers and coins.

In fact, the festival is of Brahmin origin in which people offer thanks to the Goddess of the water. Thus, by moonlight, people light the candles and joss-sticks, make a wish and launch their Krathongs on canals, rivers or even small ponds. It is believed that the Krathongs carry away sins and bad luck, and the wishes that have been made for the new year due to start. Indeed, it is the time to be joyful and happy as the sufferings are floated away.

The festival starts in the evening when there is a full moon in the sky. People of all walks of life carry their Krathongs to the nearby rivers. After lighting candles and joss-sticks and making a wish, they gently place the Krathongs on the water and let them drift away till they go out of sight.

A Beauty Queen Contest is an important part of the festival and for this occasion it is called “The Noppamas Queen Contest”. Noppamas is a legendary figure from the Sukhothai period. Old documents refer to her as the chief royal consort of a Sukhothai King named “Lithai”. Noppamas was said to have made the first decorated Krathong to float in the river on the occasion.

In Bangkok, major establishments such as leading hotels and amusement parks organise their Loy Krathong Festival and the Krathong contest as major annual function.

For visitors to Thailand, the Loy Krathong Festival is an occasion not to be missed. The festival is listed in the tourist calendar. Everyone is invited to take part and share the joy and happiness.
เทศกาลลอยกระทง
เทศกาลที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเทศกาลหนึ่งในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ก็คือ เทศกาลลอยกระทง ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงที่อากาศโปร่งใสสบายและสิ้นสุดฤดูฝนแล้ว นอกจากนี้ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองทั่วทั้งประเทศก็มีระดับสูงด้วย

คำว่า “Loy” ก็คือ “ลอย” และคำว่า “กระทง” นี้หมายถึงกระทงรูปดอกบัวทำด้วยใบตองและในกระทงส่วนใหญ่ก็จะใส่เทียนไข ธูป 3 ดอก ดอกไม้และเงินเหรียญ

ความจริงแล้ว เทศกาลนี้แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งประชาชนต้องการแสดงความขอบคุณต่อเจ้าแม่คงคา ดังนั้น คืนเดือนเพ็ญประชาชนจึงจุดเทียนและธูปพร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานแล้วจึงลอยกระทงในลำคลอง แม่น้ำ หรือแม้แต่สระน้ำเล็กๆ เป็นที่เชื่อกันว่า กระทงนี้จะพาไปซึ่งบาปและความโชคร้ายทั้งมวลออกไป นอกจากนี้การตั้งจิตอธิษฐานก็เพื่อปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง แน่นอนที่สุดช่วงนี้เป็นเวลาแห่งความรื่นเริงและสนุกสนาน เพราะได้ลอยความเศร้าโศกต่างๆ ออกไปแล้ว

เทศกาลลอยกระทงจะเริ่มในช่วงเย็นเมื่อพระจันทร์เต็มดวง ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพจะนำกระทงของตนไปยังแม่น้ำที่ใกล้ๆ หลังจากจุดเทียนไขและธูปแล้วจึงตั้งจิตอธิษฐานในสิ่งที่ตนปรารถนาแล้วจึงค่อย ๆวางกระทงลงในน้ำแล้วปล่อยให้กระทงลอยไปจนสุดลูกตา

การประกวดสาวงามก็เป็นส่วนสำคัญของเทศกาลนี้เช่นกัน แต่ว่าในโอกาสเช่นนี้ เราเรียกว่า “ประกวดนางนพมาศ” นางนพมาศเป็นสตรีในตำนานครั้งกรุงสุโขทัย ตามหลักฐานกล่าวว่า นางนพมาศเป็นสนมเอกของพระเจ้ากรุงสุโขทัยพระนามว่า “ลิไท” กล่าวกันว่านางนพมาศเป็นคนแรกที่ทำกระทงประดับประดาสวยงามเพื่อลอยในลำน้ำในโอกาสนี้

ในกรุงเทพมหานคร สถานที่ใหญ่ ๆ เช่น โรงแรมชั้นนำและสวนสนุกจะจัดเทศกาลลอยกระทงขึ้นพร้อมทั้งจัดให้มีการประกวดประทงประจำปีด้วย

สำหรับผู้มาเยือนประเทศไทย เทศกาลลอยกระทงนี้ เป็นโอกาสที่ไม่ควรจะพลาด และเทศกาลนี้ก็จัดไว้ในปฏิทินการท่องเที่ยวด้วย ทุก ๆ คนสามารถเข้าร่วมสนุกสนานรื่นเริงได้

Rocket Festival



Rocket Festival
Rocket festival or “Boon Bang Fai” in Thai is usually held in the second week of May of each year, at the beginning of the rainy season. The farmers are ready to cultivate their paddy fields. The festival is popularly celebrated in the northeastern provinces of Yasothorn and Ubon Ratchathani. The celebration is an entreaty to the rain god for plentiful rains during the coming rice planting season.

The festival itself owes its beginning to a legend that a rain god named Vassakan was known for his fascination of being worshipped with fire. To receive plentiful rains for rice cultivation, the farmers send the hope-made rockets to the heaven where the god resided. The festival has been carried out till these days.

Under the guidance of Buddhist monks, it takes the villagers weeks to make the rockets, launching platforms and other decorations. An average rocket is some nine metres in length and carries 20-25 kilogrammes of gunpowder.



ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

In the afternoon of the festival day, rockets are carried in the procession to the launching site. Villagers dressed in colourful traditional costumes attract the eyes of the onlookers, who line up along the procession route.

Before ignition of the rockets, there will be more singing and dancing to celebrate the festival. The climax of the festival is the ignition time. One by one the rockets are fired from the launching platforms. Each liftoff is greeted by cheers and noisy music. The rocket that reaches the greatest height is the winner and the owner of this rocket will dance and urge for rewards on their way home while the owners of the rockets, that exploded or failed to fly, will be thrown into the mud. The celebration is a communual affair of the villagers who come to share joy and happiness together before heading to the paddy fields where hard work is waiting for them.
บุญบั้งไฟ
โดยปกติงานบุญบั้งไฟนี้ จะจัดให้มีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมในแต่ละปีและช่วงนี้ก็เป็นระยะเวลาเริ่มต้นของฤดูฝน ชาวนาต่างก็พร้อมที่จะทำการเพาะปลูก เทศกาลนี้นิยมเฉลิมฉลองกันมากในจังหวัดทางภาคอีสาน เช่น ยโสธร และอุบลราชธานี การฉลองก็เพื่อเป็นการวิงวอนขอฝนจากพระพิรุณให้ประทานฝนมามากๆ ในช่วงฤดูกาลปลูกข้าวที่กำลังมาถึง

เทศกาลนี้มีที่มาจากตำนานกล่าวว่า เทพบุตรนามว่า “วัสสกาล เทพบุตร” ผู้ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่ามีความเสน่หาในการบูชาด้วยไฟเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว ชาวนาจึงส่งจรวด (บั้งไฟ) ที่ทำขึ้นเองไปยังสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิ่ตของวัสสกาลเทพบุตร นับแต่นั้นมาเทศกาลนี้ก็ถือเป็นประเพณีปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

ภายใต้คำแนะนำของพระสงฆ์ ชาวบ้านต่างก็ใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อทำบั้งไฟ แท่นยิงและการประดับประดาอื่น ๆ โดยเฉลี่ยบั้งไฟแต่ละบั้งมีความยาวประมาณ 9 เมตร และบรรจุดินปืนประมาณ 20-25 กก.

ครั้นตอนบ่ายของวันทำพิธี จะมีการแห่แหนบั้งไฟไปยังสถานที่สำหรับจุด ชาวบ้านต่างก็แต่งตัวตามประเพณีสวยงามเพื่อดึงดูดสายตาของคนดู ผู้ซึ่งเข้าแถวเรียงรายไปตามเส้นทางขบวนแห่

แต่ก่อนที่จะจุดบั้งไฟ ก็จะมีการขับร้องและเต้นรำเพื่อฉลองเทศกาลนี้กันอย่างครึกครื้นพอสมควร จุดเด่นของเทศกาลนี้ก็คือ ตอนที่จุดบั้งไฟ ซึ่งจะจุดทีละบั้ง การจุดแต่ละครั้งก็จะตามด้วยเสียงเชียร์และเสียงดนตรีดังอึกทึกไปทั่วบริเวณ บั้งไฟที่ขึ้นไปสูงสุดจะได้รับการตัดสินว่าชนะและผู้เป็นเจ้าของบั้งไฟที่ชนะเลิศนั้นก็จะเต้นรำและขอรางวัลจากคนทั่วไปในระหว่างทางที่กลับบ้าน ในขณะเดียวกัน เจ้าของบั้งไฟที่ระเบิดหรือจุดไม่ขึ้นก็จะถูกโยนลงไปในโคลน การฉลองนี้เป็นกิจกรรมร่วมกันของชาวบ้าน ผู้ซึ่งต่างก็มาร่วมรื่นเริงสนุกสนานด้วยกันก่อนที่จะบ่ายหน้าไปยังทุ่งนา ซึ่งรอการคลาดไถปักดำอยู่เบื้องหน้า