วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Illuminated Boat Procession




Illuminated Boat Procession
The festival of the Illuminated Boat Procession or “Lai Reua Fai” in Thai and “Lai Heua Fai” in local dialect is an ancient tradition of northeastern people. In the past, the festival was held in several provinces in this region, later only some provinces still preserve this tradition especially Nakhon Phanom Province where the annual event draws visitors from different directions.

Originally, the boats were made of banana logs or bamboo but modern versions can be made of wood or synthetic materials. A boat’s length was about 8 to 10 meters. Inside the boat, there were sweets, steamed-sticky rice wrapped in banana leaves (Khao Tom Mud) and other offerings while the outside of the boat was decorated with flowers, joss-sticks, candles and lamps. At night the fire boats were launched on the Mekong River and illuminated in a spectacular display.

The festival of the Illuminated Boat Procession takes place at the end of the Buddhist Rains Retreat or Ork Phansa (usually some time during October). On this occasion, residents of several villages will jointly observe Ork Phansa by launching intricatedly decorated little boats on the Mekong River when the night falls. Boat racing and a wax castle procession are also included in the festival. The event was said to have carried down from several generations as a means to worship Lord Buddha who, according to Buddhist legend, returned to earth after completing his – month mission in heaven.

Meanwhile, the ceremony of launching fire boats will usually be performed in the evening before the sunset. Buddhist monks will be invited to chant, give precepts and deliver a sermon. However, the participants must bring joss-sticks and candles to take part in a religious rite. As soon as the sun’s rays disappear, the boats will be lit and launched on the Mekong River to worship Lord Buddha.

At this time, in the middle of the Mekong River, lights in various shapes from the floating boats can be seen from a long distance and this is considered as a significant symbol to uphold Buddhism. The event brings about happiness to all Buddhists while foreign visitors will enjoy watching a marvelous illuminated display.





งานประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟหรือที่เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “ไหลเฮือไฟ” นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอีสาน ในอดีตประเพณีนี้จัดให้มีขึ้นในหลายจังหวัดในภาคนี้แต่ต่อมามีเพียงบางจังหวัดเท่านั้นที่ยังคงยึดถือประเพณีไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดนครพนมซึ่งงานประเพณีประจำปีนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ

เดิมทีเดียว เรือเหล่านี้ทำด้วยต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ แต่ในยุคนี้อาจจะทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์ก็ได้ ความยาวของลำเรือประมาณ 8 ถึง 10 เมตร ภายในเรือมีขนม ข้าวต้มมัดและเครื่องไทยทานต่างๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนด้านนอกของเรือก็มีดอกไม้ ธูปเทียน และตะเกียง พอถึงเวลากลางคืนก็ปล่อยเรือไฟลงในแม่น้ำโขง ดูสว่างไสวไปด้วยการแสดงอันตระการตา

ประเพณีไหลเรือไฟจัดให้มีขึ้นในช่วงสิ้นสุดฤดูกาลเข้าพรรษา (ช่วงออกพรรษาโดยปกติราวๆ ระหว่างเดือนตุลาคม) ในโอกาสนี้ชาวบ้านหลายหมู่บ้านจะร่วมกันจัดงานออกพรรษาโดยการทำเรือขนาดเล็กประดับประดาอย่างประณีตเพื่อปล่อยลงในแม่น้ำโขงในเวลากลางคืน การแข่งขันเรือและขบวนแห่ปราสาทผึ้งก็จัดให้มีขึ้นในช่วงงานประเพณีนี้ด้วย กล่าวกันว่างานประเพณีนี้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งตามตำนานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่าพระองค์เสด็จลงมาสู่โลกหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจที่ทรงปฏิบัติอยู่บนสวรรค์เป็นเวลา 3 เดือน

ในขณะเดียวกัน พิธีไหลเรือไฟนี้โดยปกติจะจัดขึ้นในช่วงเย็นก่อนพระอาทิตย์ตกดิน มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ให้ศีลและแสดงพระธรรมเทศนา อย่างไรก็ตามผู้ที่มาเข้าร่วมในพิธีต้องนำธูปเทียนมาเข้าร่วมทำพิธีทางศาสนาเอง ทันทีที่แสงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า เรือไฟก็จะถูกจุดขึ้นแล้วปล่อยลงในแม่น้ำโขงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า

ณ เวลานี้ กลางลำน้ำโขงแสงไฟเป็นรูปต่างๆ จากเรือที่ลอยลำอยู่สามารถมองเห็นได้แต่ไกล และนี่ก็ถือกันว่าเป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญแห่งการเทิดทูนพระพุทธศาสนา ประเพณีนี้นำมาซึ่งความสุขต่อชาวพุทธทั้งมวลในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็เพลิดเพลินกับการได้ชมการแสดงอันสว่างไสวดูน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

ไม่มีความคิดเห็น: