วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Yee Peng Festival


Yee Peng Festival

 

Yee Peng is the annual festival held to celebrate the full moon in the northern capital of Chiang Mai on the day preceding Loy Krathong by one day in November. The word “Yee Peng” is the northern Thai term referring to the full moon of the 12th lunar month in the Buddhist calendar.
The festival is celebrated as a religious event in which local people throughout the region make merit and other religious activities. The highlight of the event focuses on the launching of the Khom loy or floating lanterns into the night sky with the belief that misfortune will fly away with the lanterns. It is their belief, if the lanterns are made and offered to monks, they will receive wisdom in return as the flame in the lantern is said to symbolise knowledge and the light it gives will guide them to the right path of their lives.
Meanwhile, “Khom loy” is a Thai word signifying the floating lantern which is a large balloon – like made from a light bamboo frame covered with saa (mulberry) paper. It floats by means of hot air heated by a flaming torch fixed in the balloon. During the event, both day and night local people and monks are closely involved with the Khom making process. Besides, the premise of large hotels, the temple compound is thus the appropriate venue for the launching of the Khom. The activity has gained such popularity that at the height of the event the flight training of the Royal Thai Air Force has to be suspended until all the Khom loy have dispersed while all commercial air traffic at the airport has been warned to exercise extreme caution as the climbing lanterns could pose a danger to the jet turbines.
To celebrate the auspicious event, companies and private individuals make merit by sponsoring ballons to dispel bad luck and seek good fortune. If their balloons rise high and travel far, this indicates prosperity. It has been said that this kind of hot air balloon could rise to heights of up to 1,250 metres and travel even as far as Hat Yai District of the southern province of Songkhla.
The most spectacular event is held at the Thapae Gate area where local and foreign visitors can see floats, marchers and beautiful Yee Peng queens. As the night falls, the spectators will be excited to see the long strings of Khom loy rise gently into the limitless sky as they stimulate the participants’ spirits to rise higher to the heaven. This brings joy and happiness to the merit-makers since their ill – fortune has been floated away.


ประเพณียี่เป็ง


ยี่เป็งเป็นงานประเพณีประจำปี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองคืนเดือนเพ็ญที่จังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือของไทย โดยงานจะเริ่มขึ้นในวันก่อนวันลอยกระทงหนึ่งวันในเดือนพฤศจิกายน คำว่า “ยี่เป็ง” เป็นคำทางเหนือซึ่งหมายถึง วันเพ็ญเดือน 12 ตามปฏิทินพุทธศาสนา
ประเพณีนี้จัดฉลองเป็นพิธีทางศาสนา ซึ่งประชาชนในถิ่นนี้ทั้งหมดจะร่วมทำบุญและกิจกรรมทางศาสนาอื่น ๆ ด้วย จุดเด่นของงานนี้ก็อยู่ที่การปล่อยโคมลอยขึ้นไปในท้องฟ้าในยามค่ำคืนตามความเชื่อที่ว่า โคมเหล่านี้จะนำโชคร้ายต่าง ๆ ออกไป ประชาชนเชื่อว่าถ้าหากได้ทำโคมแล้วนำไปถวายพระพวกเขาก็จะได้รับความฉลาดเป็นสิ่งตอบแทน เพราะกล่าวกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญญลักษณ์ของความรู้และแสงสว่างที่ได้รับจากโคมจะนำพวกเขาไปในทางที่ถูกต้องของการดำเนินชีวิต
ในขณะเดียวกัน คำว่า “โคมลอย” นี้เป็นภาษาไทย ซึ่งหมายถึงโคมไฟที่ลอยได้ โดยมีรูปคล้ายบัลลูนขนาดใหญ่ทำด้วยโครงไม้ไผ่เบา ๆ แล้วคลุมด้วยกระดาษสา บัลลูนนี้ลอยได้โดยอาศัยอากาศร้อนโดยการจุดคบเพลิงผูกติดไว้ในบัลลูน ในช่วงมีพิธีนี้ทั้งวันทั้งคืน ชาวบ้านและพระสงฆ์จะช่วยกันทำโคมอย่างขะมักเขม้น นอกจากบริเวณโรงแรมใหญ่ ๆ แล้ว บริเวณวัดก็จัดเป็นสถานีที่เหมาะสำหรับการปล่อยโคมอีกด้วย กิจกรรมนี้ได้รับความนิยมมากเสียจนกระทั่งว่าในช่วงสำคัญของงานการฝึกบินของกองทัพอากาศไทยต้องหยุดระงับไว้ชั่วคราวจนกว่าโคมเหล่านี้จะลอยไปหมดแล้ว ในขณะที่การบินพาณิชย์ที่สนามบินก็ได้รับคำเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังอย่างมากที่สุดเพราะโคมที่กำลังลอยขึ้นนี้อาจเป็นอันตรายต่อใบพัดของเครื่องยนต์ไอพ่นได้
เพื่อร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ บริษัทและแต่ละคนต่างก็ทำบุญโดยการออกค่าใช้จ่ายในการทำบัลลูนเพื่อขับไล่โชคร้ายออกไปและให้โชคดีเข้ามาแทนที่ ถ้าหากบัลลูนของพวกเขาขึ้นไปได้สูงและลอยไปได้ไกลมาก นี่ก็แสดงว่าเขาจะประสบความเจริญรุ่งเรือง กล่าวกันว่า บัลลูนที่ใช้ความร้อนชนิดนี้สามารถลอยขึ้นได้สูงถึง 1,250 เมตร และลอยไปไกลได้ถึงแม้กระทั่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาของภาคใต้
เหตุการณ์ที่น่าชมมากที่สุดจัดขึ้นที่บริเวณประตูท่าแพ ซึ่งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสามารถชมพุ่มต่าง ๆ การเดินขบวนและนางงามยี่เป็งได้ด้วยทันทีที่พลบค่ำคนชมจะได้ตื่นเต้นกับการได้เห็นโคมลอยที่ดูติดกันเป็นสายยาวค่อย ๆ ลอยขึ้นไปสู่ท้องฟ้าอันเวิ้งว้างเหมือนหนึ่งจะกระตุ้นจิตใจของผู้ที่ร่วมงานให้ลอยสูงขึ้นไปบนสวรรค์ไม่มีผิด นี่เป็นการนำมาซึ่งความรื่นเริงและความสุขแก่ผู้ที่ได้ทำบุญเพราะว่าโชคร้ายต่าง ๆของพวกเขาได้ถูกลอยไปพร้อม ๆ กับโคมหมดแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น: