Songkran Festival
Songkran Festival
“Songkran” is the Thai traditional New Year and an occasion for family reunion. At this time, people from the rural areas who are working in the city usually return home to celebrate the festival. Thus, when the time comes, Bangkok temporarily turns into a deserted city. The festival falls on April 13 and the annual celebration is held throughout the kingdom. In fact, “Songkran” is a Thai word which means “move” or “change place” as it is the day when the sun changes its position in the zodiac. It is also known as the “Water Festival” as people believe that water will wash away bad luck. This Thai traditional New Year begins with early morning merit-making offering food to Buddhist monks and releasing caged birds to fly freely into the sky. During this auspicious occasion, any animals kept will be set free. Paying homage to one’s ancestors is an important part of the day. People will pay their respects to the elders by pouring scented water over the palms of their hands. The elders in return wish the youngsters good luck and prosperity. In the afternoon, after performing a bathing rite for Buddha images and the monks, the celebrants both young and old, joyfully splash water on each other. The most-talked about celebration takes place in the northern province of Chiang Mai where Songkran is celebrated from April 13 to 15. During this period, people from all parts of the country flock there to enjoy the water festival, to watch the Miss Songkran Contest and the beautiful parades. In Bangkok, the Buddha image “Buddhasihing” is brought out from the National Museum for people to sprinkle lustral water at Sanam Luang opposite the Grand Palace.
เทศกาลสงกรานต์
“สงกรานต์” คือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีไทยและเป็นโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวจะได้พบกันพร้อมหน้าพร้อมตา ในช่วงเวลานี้ประชาชนผู้ซึ่งเป็นคนต่างจังหวัดที่มาทำงานในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ก็จะเดินทางไปฉลองเทศกาลนี้ที่บ้านเกิดของตน ดังนั้นเมื่อเทศกาลนี้มาถึงกรุงเทพมหานครก็จะกลายเป็นเมืองร้างไปชั่วคราว เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13 เมษายนและการฉลองประจำปีก็จะจัดให้มีขึ้นทั่วทั้งราชอาณาจักร ที่จริงแล้วคำว่า “สงกรานต์” นี้เป็นภาษาไทยซึ่งหมายถึง “เคลื่อนย้าย” หรือ “เปลี่ยนที่” เพราะว่าเป็นวันที่พระอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งในทางจักรราศี นอกจากนี้ยังเรียกว่า “เทศกาลน้ำ” อีกด้วย เพราะว่าประชาชนเชื่อว่าน้ำจะพัดพาเอาสิ่งที่เป็นอัปมงคลออกไป วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของไทยนี้เริ่มต้นแต่เช้าตรู่ด้วยการทำบุญตักบาตรแก่พระสงฆ์และปล่อยนกที่ขังไว้ให้เป็นอิสระ ในช่วงวาระโอกาสอันเป็นมงคลนี้ สัตว์ต่างๆ ที่ถูกขังไว้ก็จะได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ พร้อมกันนี้การไหว้บรรพบุรุษก็เป็นส่วนสำคัญของวันนี้ด้วย ประชาชนจะแสดงความเคารพต่อผู้สูงอายุ และในทางกลับกันผู้สูงอายุก็จะอวยพรให้ผู้น้อยประสบโชคดีและเจริญรุ่งเรือง
ในตอนบ่าย หลังจากพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์แล้ว ผู้ร่วมฉลองทั้งหนุ่มและแก่ต่างสาดน้ำใส่กันอย่างสนุกสนาน การฉลองที่มีคนกล่าวขานกันมากที่สุดเห็นจะเป็นที่จังหวัดทางภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ ซึ่งการฉลองที่นี่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ช่วงเวลานี้ประชาชนจากทั่วทุกภาคของประเทศจะแห่กันไปที่นั่นเพื่อร่วมสนุกสนานในเทศกาลน้ำนี้ เพื่อชมการประกวดนางงามสงกรานต์และขบวนพาเหรดที่สวยงาม ในกรุงเทพมหานคร พระพุทธรูป “พระพุทธสิหิงค์” จะถูกอัญเชิญจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมาประดิษฐานไว้ที่ท้องสนามหลวง (ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง) เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น