วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Asanha Puja and Buddhist Lent


             

                           Asanha Puja and Buddhist Lent

The Asanha Puja Day is one of the sacred days in Buddhism as it marks the coming into existence of the Triple Gems, namely ; the Lord Buddha, His Teachings and His Disciples. The day falls on the fifteenth day of the waxing moon of the eighth lunar month (July). It is an anniversary of the day on which Lord Buddha delivered the First Sermon to his first five disciples at the Deer Park in Benares over two thousand five hundred years ago.
To observe this auspicious day, Buddhists all over the country perform merit-making and observe Silas (Precepts). Some go to the temples to offer food and offerings to the monks and also listen to a sermon to purify their minds. The Asanha Puja Day falls on the day preceding the Buddhist Lent which starts on the fist day of the waning moon of the eighth lunar month.
The tradition of Buddhist Lent or the annual three-month Rains Retreat known in Thai as “Phansa” dates back to the time of early Buddhism in ancient India, all holy men, mendicants and sages spent three months of the annual rainy season in permanent dwellings. They avoided unnecessary travel during the period when crops were still new for fear they might accidentally step on young plants. In deference to popular opinion, Lord Buddha decreed that his followers should also abide by this ancient tradition, and thus began to gather in groups of simple dwellings.
Buddhist Lent covers a good part of the rainy season and lasts three lunar months. In Thailand, Buddhist monks resolve to stay in a temple of the choice and will not take an abode in an other temple until the Lent is over.
The celebration of the beginning of Buddhist Lent is marked by the ceremony of presenting candles to the monks. Various institutions e.g. schools and universities, including public and private organisations will organise a colourful candle procession leading to a temple where the offering of the candles will be made.
Some Buddhist followers consider the beginning of Buddhist Lent as a time for making resolution such as refraining from smoking or observing five precepts (Panjasila) throughout the three-month Rains Retreat.


อาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา

 


วันอาสาฬหบูชาจัดเป็นวันที่สำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นในโลก คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ วันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกรกฎาคม) วันนี้ในครั้งพุทธกาลกว่า 2500 ปีมาแล้ว เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดง ปฐมเทศนา* โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี
เพื่อเป็นการระลึกนึกถึงวันอันเป็นมงคลนี้ ชาวพุทธทั่วทั้งประเทศจะทำบุญและรักษาศีล บางคนก็ไปวัดเพื่อถวายอาหารและจตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระสงฆ์ และฟังพระธรรมเทศนาเพื่อขัดเกลาจิตใจ โดยปกติวันอาสาฬหบูชาจะมีขึ้นก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน กล่าวคือ วันเข้าพรรษาจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
ประเพณีเข้าพรรษาสืบเนื่องมาแต่ต้นพุทธกาลในประเทศอินเดีย เมื่อบรรดาผู้ทรงศีล นักบวช และฤาษีต่างก็อยู่ประจำที่ในช่วงฤดูฝน เป็นเวลา 3 เดือน พวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยไม่จำเป็นในช่วงระยะเวลานี้ เพราะเพิ่งเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกโดยเกรงว่าจะไปเหยียบต้นกล้าโดยบังเอิญได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสมัยนิยม พระพุทธเจ้าจึงทรงออกพุทธบัญญัติให้พุทธสาวกปฏิบัติตามประเพณีปฏิบัตินี้ จึงเริ่มอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ โดยสร้างที่พักแบบง่าย ๆ ขึ้นก่อน
ฤดูกาลเข้าพรรษาจะยาวตลอดฤดูฝนเป็นเวลา 3 เดือน ในประเทศไทย พระสงฆ์จะอธิษฐานอยู่จำพรรษาเฉพาะในวัดที่ตนเลือกเท่านั้น และจะไม่ไปค้างคืนที่อื่นจนกว่าจะออกพรรษาแล้ว
พิธีฉลองเมื่อถึงวันเข้าพรรษาจะเริ่มด้วยการแห่เทียนไปถวายพระที่วัด สถาบันต่าง ๆ เช่น โรงเรียนและมหาวิทยาลัย รวมทั้งหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนก็จะจัดขบวนแห่เทียนอย่างสวยงามไปยังวัดที่จะถวายเทียนจำพรรษานั้น
ชาวพุทธบางคนยังถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นเวลาแห่งการตั้งกฎบังคับตนเอง เช่น เลิกสูบบุหรี่ หรือสมาทานศีล 5 ตลอดพรรษาก็มี

ไม่มีความคิดเห็น: