วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

The Phi Ta Khon


The Phi Ta Khon (Ghost Festival)
Phi Ta Khon is a type of masked procession celebrated on the first day of a three-day Buddhist merit-making holiday known in Thai as “Boon Pra Wate”. The annual festival takes place in *May, June or July at a small town of Dan Sai in the northeastern province of Loei.

Participants of the festival dress up like ghosts and monsters wearing huge masks made from carved coconut-tree trunks, topped with a wicker-work sticky-rice steamer. The procession is marked by a lot of music and dancing.

The precise origin of the Phi Ta khon is unclear. However, it can be traced back to a traditional Buddhist folklore. In the Buddha’s next to last life, he was the beloved Prince Vessandorn. The prince was said to go on a long trip for such a long time that his subjects forgot him and even thought that he was already dead. When he suddenly returned, his people were over-joyed. They welcomed him back with a celebration so loud that it even awoke the dead who then joined in all the fun.

From that time onward the faithful came to commemorate the event with ceremonies, celebrations and the donning of ghostly spirit masks. The reasons behind all the events is probably due to the fact that it was held to evoke the annual rains from the heavens by farmers and to bless crops.

On the second day, the villagers dance their way to the temple and fire off the usual bamboo rockets to signal the end of the procession. The festival organisers also hold contests for the best masks, costumes and dancers, and brass plaques are awarded to the winners in each age group. The most popular is the dancing contest.

Then comes the last day of the event, the villagers then gather at the local temple, Wat Ponchai, to listen to the message of the thirteen sermons of the Lord Buddha recited by the local monks.

Then it is time for the revellers to put away their ghostly masks and costumes for another year. From now on, they must again return to the paddy fields to eke out their living through rice farming as their forefathers did.



ผีตาโขน
ผีตาโขนคือขบวนแห่ใส่หน้ากาก ซึ่งพิธีฉลองจัดขึ้นในวันแรกของพิธีทำบุญ 3 วัน เรียกว่า “บุญพระเวส” ในภาษาไทย เทศกาลประจำปีนี้จะมีขึ้นในเดือน *พฤษภาคม มิถุนายน หรือ กรกฎาคม ที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่ง ชื่อด่านซ้าย ในจังหวัดเลยของภาคอีสาน

ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากต้นมะพร้าวแกะสลักและสวมศรีษะด้วยกระติ๊บข้าวเหนียว ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน

ต้นกำเนิดของพิธีผีตาโขนไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่ก็พอที่จะท้าวความไปยังตำนานทางพุทธศาสนาได้ว่า ในชาติก่อนหน้าที่จะถือกำเนิดมาเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือกำเนิดเป็นเจ้าชาย ผู้เป็นที่รักยิ่งของทวยราษฎร์ ทรงพระนามว่า พระเวสสันดร กล่าวกันว่าพระองค์ทรงเสด็จออกนอกพระนครไปเป็นเวลานานเสียจนเหล่าพสกนิกรของพระองค์ลืมพระองค์ไปแล้ว และยังคิดว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ไปเสียแล้วด้วยซ้ำไป แต่จู่ ๆ พระองค์ก็เสด็จกลับมา พสกนิกรของพระองค์ต่างปลื้ม ปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงพร้อมใจกันเฉลิมฉลองการเสด็จกลับมาอย่างเอิกเกริกส่งเสียงดังกึกก้อง จนกระทั่งปลุกผู้ที่ตายไปแล้วให้มาเข้าร่วมสนุกสนานรื่นเริงไปด้วย

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาต่างพากันมาร่วมระลึกนึกถึงเหตุการณ์นี้ด้วยการจัดพิธีต่าง ๆ การเฉลิมฉลองและการแต่งกายใส่หน้ากากคล้ายภูตผีปีศาจ แต่เหตุผลที่แท้จริง เบื้องหลังพิธีนี้ก็อาจจะเนื่องมาจากความจริงที่ว่าชาวนาต้องการกระตุ้นฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล และเพื่อเป็นการให้ศีลให้พรแก่พืชผลอีกด้วย

ในวันที่ 2 ของงานบุญนี้ ชาวบ้านจะร้องรำทำเพลงไปตามทางสู่วัด แล้วจึงจุดบั้งไฟเพื่อส่งสัญญาณให้รู้ว่า ขบวนแห่ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว นอกจากนี้ผู้ที่จัดงาน ก็ยังจัดให้มีการประกวดหน้ากากที่สวยงามที่สุด การแต่งกายและผู้ที่รำสวย แล้วยังมีการแจกโล่ห์ทองเหลืองแก่ผู้ชนะในแต่ละวัยอีกด้วย แต่สิ่งที่ชื่นชอบกันมากที่สุด ก็เห็นจะเป็นการแข่งขันเต้นรำ

และเมื่อวันสุดท้ายของงานบุญมาถึง ชาวบ้านก็จะไปรวมกันที่วัดโพนชัย เพื่อฟังพระธรรมเทศนา 13 กัณฑ์ แสดงโดยพระภิกษุวัดนั้น

และแล้ววันเวลาแห่งการถอดหน้ากากปีศาจและเครื่องแต่งกาย เพื่อสวมใส่ในปีต่อไปก็มาถึง นับจากนี้ไปพวกเขาต้องกลับไปสู่ท้องนาอีกครั้ง โดยการทำนาเพื่อหาเลี้ยงชีพ ตามอย่างบรรพบุรุษของตนที่สืบทอดกันมา

ไม่มีความคิดเห็น: